“ไบโอเทคตระหนักถึงความสำคัญของมันสำปะหลังต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
จึงได้ริเริ่มโครงการ Capacity Building on Circular Economy, Resource and Energy Efficiency for Productivity and Sustainability of Cassava Chain to High Value Products: Cassava Root, Native Starch, and Biogas in Mekong Countries หรือโครงการ CCC โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณ รัฐเกาหลี ผ่านกองทุนความร่วมมือแม่โขงและสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-Republic of Korea Cooperation Fund- MKCF) และสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง”
ดร.วรินธร สงคศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บอกถึงที่มาของโครงการ CCC เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ผ่านการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยหลักสูตรอบรมครอบคลุมหัวข้อสำคัญ เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการเทคโนโลยีการปลูกมันสำปะหลัง การปรับปรุงพันธุ์เพื่อการเพิ่มผลผลิต และทำให้มันสำปะหลัง มีคุณสมบัติเหมาะกับการแปรรูป หรือใช้งานในอุตสาหกรรมเฉพาะ
นอกจากนั้น ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในกระบวนการผลิต จนถึงการใช้เทคโนโลยีในการนำของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ได้แก่ น้ำเสียและกากมันสำปะหลังมาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีมันสำปะหลัง (ASEAN Cassava Center) ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านมันสำปะหลังของภูมิภาคและของโลกในอนาคต
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> ‘เอไอ – หุ่นยนต์’ เปิดมิติใหม่ ยุคดิจิทัลดิสรัปโลก