ผลสำรวจปี 66 เผยคนไทยกว่า 49% เลี้ยงสัตว์แทนลูก

ผลสำรวจปี 66 เผยคนไทยกว่า 49% เลี้ยงสัตว์แทนลูก แถมทาสทั้งหลายเปย์นายเฉลี่ย 1-2 หมื่น/ตัว/ปี

สัตว์เลี้ยง

ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตสวนกระแสโควิด-19 เป็นอย่างมาก โดยยูโรมอนิเตอร์ คาดการณ์ว่า ในปี 2026 ตลาดสัตว์เลี้ยงของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 217,615 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 7.2% ในขณะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.4% มาอยู่ที่ 66,748 ล้านบาทในปี 2026 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเลี้ยงสัตว์ในไทยจากฐานข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกปี แต่อัตราการเกิดของเด็กในไทยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นถึงครอบครัวจำนวนมากที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อเข้ามาเติมเต็มครอบครัว

นอกจากนี้ หลากหลายแบรนด์เลือกที่จะทำการตลาดในแนวทางของ Pet Marketing เพื่อสื่อสารแบรนด์ถึงกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ โดยกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์เลือกใช้ “สัตว์เลี้ยง” เข้ามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์เพื่อช่วยในการสื่อสารและสร้างภาพจำ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด โดยภาพโฆษณาที่มีทั้งสัตว์และสินค้าอยู่ในโฆษณาจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากถึง 43.82% เพราะ สัตว์จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค อีกทั้งยังดูไม่ขายของจนเกินไป

อีกหนึ่งแนวทางการทำการตลาดกับความน่ารักของเจ้านายทั้งหลาย คือ Pet Influencer โดยสัตว์เลี้ยงที่มีอิทธิพลที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ด้านการตลาดทั้งช่วยโปรโมตสินค้า หรือบริการ และมอบความบันเทิงให้ผู้ติดตาม แถมความน่ารักจะช่วยดึงดูดผู้ติดตามทั่วโลกออนไลน์ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

ด้าน นายพัชรพันธุ์ เทียนศิริ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า CMMU ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างโดยการตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,046 คน และสำรวจกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 100 คน เป็นเพศหญิง 66.8% เพศชาย 22.3% และเพศทางเลือก 10.9% กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นกลุ่มคนเจเนอเรชันวาย อายุระหว่าง 24 – 41 ปี สูงถึง 77.3% โดยกลุ่มตัวอย่างมักจะเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นลูก (Pet Parent) 49% เลี้ยงสัตว์เพื่อสถานะทางสังคม (Pet Prestige) 34% และเลี้ยงสัตว์เพื่อช่วยเหลือและบำบัดรักษา (Pet Healing) 18% สำหรับประเภทสัตว์เลี้ยงที่มีมากที่สุด ได้แก่ สุนัข 40.4% แมว 37.1% และสัตว์เอ็กโซติก 22.6%

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> สุนัขค่าตับสูง เสี่ยงเป็นโรคอันตราย เจออาการแบบนี้รีบจูงไปหาสัตวแพทย์ด่วน

สุนัขค่าตับสูง เสี่ยงเป็นโรคอันตราย เจออาการแบบนี้รีบจูงไปหาสัตวแพทย์ด่วน

สุนัขค่าตับสูง เสี่ยงเป็นโรคอันตราย เจออาการแบบนี้รีบจูงไปหาสัตวแพทย์ด่วน

สุนัขค่าตับสูง มีอาการอย่างไร เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง หากพบว่าสุนัขมีค่าตับสูง ควรดูแลหรือให้อาหารแบบไหน คนที่กำลังกังวลก็ตามไปดูกันได้เลย

หากเจอว่าสุนัขค่าตับสูงคงทำให้เจ้าของรู้สึกกังวลกันมากใช่ไหมล่ะคะ อยากรู้ว่าจะเป็นโรคร้ายอะไรหรือเปล่า วันนี้เลยนำข้อมูลเกี่ยวกับค่าตับสุนัขมาฝากกัน ตั้งแต่ค่าตับ คืออะไร แล้วลักษณะอาการแบบไหน ที่จะบอกได้ว่าสุนัขของเรานั้นมีค่าตับสูง หากตรวจเจอแล้วจะเสี่ยงเป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่ แล้วต่อจากนี้มีวิธีการดูแลสุนัขของเราอย่างไรกันดี

สัตว์เลี้ยง

ค่าตับ คืออะไร

ค่าตับ (Liver Enzymes) คือ ค่าการทำงานของตับ มีด้วยกันหลากหลายชนิด สามารถวัดได้จากการตรวจเลือด ซึ่งถ้าหากพบว่าค่าตับสูง ก็จะบ่งบอกว่าร่างกายกำลังงอยู่ในภาวะอันตรายและอาการเสื่ยงต่อโรคหลาย ๆ อย่าง ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของค่าตับ ดังนี้

1. AST

AST (Aspartate Transaminase) หรือเดิมเรียกว่า SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase) เป็นเอนไซม์ที่สามารถพบได้ทั้งในตับ ตับอ่อน น้ำดี กล้ามเนื้อ หัวใจ และเซลล์เม็ดเลือดแดง หากตรวจพบว่าสุนัขมีค่าชนิดนี้สูงเกินกว่าปกติ สัตวแพทย์ก็จะทำการตรวจเช็กซ้ำให้แน่ใจอีกครั้งว่าเกิดจากสาเหตุอะไร หรือมีความผิดปกติที่ตรงไหน ซึ่งตามปกติแล้วเอนไซม์ตัวนี้จะมีอยู่ในเลือดค่อนข้างน้อย ดังนั้นเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและละเอียดมากยิ่งขึ้น สัตวแพทย์จึงต้องทำตรวจและดูค่าเอนไซม์ ALT คู่กันไปด้วย

2. ALT หรือ SGPT

ALT (Alanine Aminotransferase) หรือเดิมทีเรียกว่า SGPT (Serum Glutamic Pyruvic Transaminase) เป็นเอนไซม์ที่สามารถพบได้ทั้งในตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นหากตับทำงานผิดปกติ อาจไม่ได้เป็นเพราะค่าเอนไซม์ ALT สูงขึ้นเสมอไป

3. ALP

ALP (Alkaline Phosphatase) เป็นค่าเอนไซม์ที่สามารถพบได้ทั้งในตับ ไต ลำไส้ กระดูก และรก (กรณีที่สุนัขตั้งครรภ์) ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้อาจมีค่าสูงขึ้นได้ในสุนัขทุกวัย แต่อย่างไรก็ตามควนสอบถามสัตวแพทย์เพื่อหาสาเหตุอีกครั้ง

4. GGT

GGT (Gamma glutamyl transferase) เป็นค่าที่ช่วยในการวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคตับได้มากที่สุด เพราะเป็นค่าตับที่สื่อถึงโรคตับโดยตรง แต่ส่วนใหญ่แล้วสัตวแพทย์จะไม่ค่อยตรวจค่าชนิดนี้สักเท่าไร ฉะนั้นหากใครอยากตรวจเช็กให้แน่ใจ ก็อย่าลืมแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบด้วย

อาการของสุนัขที่มีค่าตับสูง

ค่าตับสูงจะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งเจ้าของสุนัขสามารถสังเกตความผิดปกติได้จากอาการต่อไปนี้

– คลื่นไส้อาเจียน

– ท้องเสีย

– เบื่ออาหาร

– น้ำหนักลด

– เซื่อมซึม

– อ่อนแรง

– ไม่กระฉับกระเฉง

– เลือดออกง่ายและมากผิดปกติ

นอกจากนี้สุนัขบางตัวอาจมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย ทว่าอย่างไรเจ้าของก็ต้องหมั่นสังเกตและแยกแยะความผิดปกติของสุนัขให้ได้ เพราะบางครั้งอาการอาเจียนอาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรือสุนัขอาจจะเบื่ออาหารเนื่องจากเครียดและสภาพแวดล้อมก็ได้

แนะนำข่าวสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติม : ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง แต่ช่วยบำบัดเยียวยาจิตใจได้

ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง แต่ช่วยบำบัดเยียวยาจิตใจได้

ระลึกถึงน้องหมาผู้น่ารัก ซึ่งข้อดีไม่ได้เป็นแค่เพียงสัตว์เลี้ยงแก้เหงาเท่านั้น แต่น้องหมายังช่วยบำบัดและเยียวยาจิตใจได้อีกด้วย

16 กันยายน 2565 มีการศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าการเลี้ยงสุนัข รวมถึงสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ จะช่วยบำบัดจิตใจได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงวัยที่มีความโดดเดี่ยวและเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ที่มีความเครียดหลังเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เรียกว่า PTSD รวมถึงผู้มีภาวะเครียด วิตกกังวล 

น้องหมา

แนวคิดของการนำสุนัขหรือสัตว์มาช่วยในการบำบัด เริ่มต้นมายาวนานในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยในปี 1860 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ผู้ทุ่มเทให้กับการพยาบาลยุคใหม่ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าผู้ป่วยจิตเวชที่ได้ใช้เวลากับสัตว์ตัวเล็กจะมีความกระวนกระวายลดลง

ในขณะที่นักจิตวิทยาระดับโลกชาวออสเตรียอย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เชื่อว่าสุนัขสัมผัสได้ถึงระดับความเครียดของคน เขาจึงใช้สุนัขสื่อสารกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเล่นกับสุนัขของเขาก่อนเหมือนแง้มประตูให้เกิดความไว้วางใจ จากนั้นเขาจึงเข้ามาพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อรักษาต่อไป

คนแฮปปี้ น้องหมาก็แฮปปี้

มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจาก เอมี่ แมคคอลลาห์ (Amy McCullough) หัวหน้าวิจัยและผู้อำนวยการด้านการวิจัยและบำบัดแห่งชาติจาก American Humane ในวอชิงตัน ดี. ซี. เกี่ยวกับสุนัขที่ช่วยบำบัดผู้ป่วยว่ามีอาการเครียดหรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย และสุนัขช่วยเยียวยาอีก 26 ตัว ผลการศึกษาพบว่าน้องหมาไม่ได้รู้สึกเครียดจากการทำงาน ในบางกรณีกลับมีความสุขมากขึ้นด้วย