แนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออก-มาลาเรียสูงขึ้น ในปี 66

กรมควบคุมโรค เตือน แนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออกและมาลาเรียสูงขึ้นในปี 2566 แนะนำกำจัดยุงอย่างถูกวิธี

 

สุขภาพ

 

เน้นสิ่งแวดล้อมไม่ให้ยุงเกิด ป้องกันไม่ให้ยุงกัด หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น หากมีอาการป่วยไม่ซื้อยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) มารับประทานเอง

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยพบรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรีย ข้อมูลจากรายงานในปี 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 45,145 ราย ซึ่งมากกว่าปี 2564 ถึง 4.5 เท่า ทั้งยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกยืนยันถึง 31 ราย ส่วนโรคไข้มาลาเรีย ข้อมูลจากระบบมาลาเรียออนไลน์ในปี 2565 พบผู้ป่วยสะสม 10,174 ราย สูงกว่าปี 2564 ถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2566

โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี ส่วนใหญ่พบเป็นชาวต่างชาติ และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย โรคไข้ปวดข้อยุงลายพบผู้ป่วยสะสม 1,370 ราย ถึงแม้จะไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่จำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายนั้นสูงกว่าปี 2564 ถึง 2 เท่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกา พบผู้ป่วยสะสม 66 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 20 ราย นอกจากนี้ยังพบทารกศีรษะเล็ก 1 ราย และโรคเท้าช้างพบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม 4 ราย

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ยุงในประเทศไทยมีหลายชนิด ชนิดที่พบเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ยุงก้นปล่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ยุงเสือพาหะนำโรคเท้าช้าง และยุงรำคาญ พาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้างบางประเภท ซึ่งยุงพาหะแต่ละชนิดมีชีวนิสัยและแหล่งเพาะพันธุ์ที่แตกต่างกัน วงจรชีวิตของยุงจะมี 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยระยะตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นระยะที่กินเลือด เพื่อใช้ในการพัฒนาไข่ของยุง จึงทำให้เกิดการแพร่โรคติดต่อนำโดยยุงได้ การป้องกันควบคุมโรคให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีมาตรการทั้งในมิติของคน เชื้อโรค ยุงพาหะ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้หลายๆ วิธีการร่วมกัน เช่น การลดแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันไม่ให้ยุงกัด การใช้สารเคมีในการกำจัดยุง โดยเฉพาะในกรณีเกิดการระบาดของโรค และหากมีอาการป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยยุงต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟีแนก แอสไพริน รวมถึงยาชุด ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่าย ยากต่อการรักษา ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> หมอทศพร ออกเตือน พลอย ชิดจันทร์ ทำคลิปยาดีที่สุดในโลก พูดแบบนี้อันตราย !

หมอทศพร ออกเตือน พลอย ชิดจันทร์ ทำคลิปยาดีที่สุดในโลก พูดแบบนี้อันตราย !

อย่าหาทำ ! ชาวเน็ตซัด พลอย ชิดจันทร์ ทำคอนเทนต์ส่งต่อความเชื่อผิด ๆ 

หมอทศพร ออกโรงเตือนแล้ว หลัง พลอย ชิดจันทร์ ทำคลิปยาที่ดีที่สุดในโลก ชี้สิ่งที่บอกให้ทำดีหมด แต่ทำคลิปพูดแบบนี้เสี่ยงอันตราย หลังคนแก่คนแชร์พรึ่บ

สุขภาพ พลอย ชิดจันทร์

ถูกส่งต่อกันเยอะทีเดียว สำหรับคลิปของ พลอย ชิดจันทร์ ที่ทำคอนเทนต์เรื่องยาที่ดีที่สุดในโลก ถ้าทำแล้วจะทำให้อายุยืนขึ้นอีก 10 ปี ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วยส่งต่อคลิปดังกล่าว และคนที่ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าการออกมาพูดแบบนี้สะเทือนวงการแพทย์ไม่น้อยเพราะทำให้คนเกิดความเข้าใจผิดได้

สำหรับเนื้อหาของคลิปคือ..

“ยาต้านมะเร็งที่ดีที่สุด คือ การเดิน

ยาอายุวัฒนะที่ดีที่สุด คือ การหัวเราะ

ยาสำหรับความสวยที่ดีที่สุด คือ การนอน

ยาชูกำลังที่ดีที่สุด คือ การแช่เท้าในน้ำอุ่น

ยาที่มหัศจรรย์ที่สุด คือ การดื่มน้ำ

ยากระเพาะที่ดีที่สุด คือ การนวดท้อง

ยาดูแลปอดที่ดีที่สุด คือ การหายใจลึก ๆ

ยาบำรุงกระดูกที่ดีที่สุด คือ การรับแสงแดด”